แหล่งทุนวิจัย – Research Funding

ทุนวิจัยสนับสนุนภายในมหาวิทยาลัย

1) ทุนวิจัยพระจอมเกล้าธนบุรี

เป็นทุนวิจัยขนาดเล็กที่ใช้เงินรายได้ของ มจธ. สนับสนุนนักวิจัยในระยะแรกของอาชีพให้เริ่มต้นวิจัยเพื่อเป็นฐานในการสร้างองค์ความรู้ และนำไปใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับโครงการในอนาคต โดยมหาวิทยาลัยจะสนับสนุนงบประมาณโครงการละไม่เกิน 150,000 บาทต่อปี และสามารถขอรับการสนับสนุนเป็นโครงการต่อเนื่องได้ไม่เกิน 2 ปี

แบบฟอร์มโครงการ

2) ทุนอุดหนุนงานวิจัยเพื่อส่งเสริมความร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตร

ทุนอุดหนุนในการดำเนินงานวิจัยที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กับเครือข่ายพันธมิตร และส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือทางการวิจัยต่อเนื่องกับเครือข่ายพันธมิตร

โดยมีกรอบวิจัยเป็นไปตามการกำหนดร่วมกันระหว่าง มจธ. กับหน่วยงานเครือข่ายพันธมิตร และมีหน่วยงานเครือข่ายพันธมิตร ดังนี้

– มหาวิทยาลัยมหิดล
– มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
– มหาวิทยาลัยทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
– วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฏเกล้า
– มูลนิธิโครงการหลวง
– กลุ่มพันธมิตรโรงพยาบาล

การสมัคร

ทุนสนับสนุนงานวิจัย

1) เงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ (วจ.1)

เป็นการให้เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ในการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ โดยมหาวิทยาลัยจะสนับสนุนค่าตีพิมพ์บทความในวารสารวิชาการนานาชาติ ในวงเงินตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 50,000 บาทต่อปีงบประมาณ

สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการสร้างเครือข่ายนานาชาติ มหาวิทยาลัยจะสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการนำเสนอผลงานทางวิชาการในที่ประชุมวิชาการนานาชาติที่จัดขึ้นในประเทศในภูมิภาคเอเชีย ตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท และในที่ประชุมวิชาการนานาชาติที่จัดขึ้นในประเทศนอกเหนือจากภูมิภาคเอเชีย จะสนับสนุนตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาท

การสมัคร

2) การส่งเสริมและสนับสนุนการจัดทำสิ่งประดิษฐ์ (วจ.3)

เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ที่มีความสามารถในการประดิษฐ์อันก่อให้เกิดการเผยแพร่ผลงานซึ่งส่งผลถึงการพัฒนาความเป็นเลิศทางวิชาการ โดยมหาวิทยาลัยจะสนับสนุนในลักษณะเงินค่าตอบแทนแก่ผู้ประดิษฐ์ที่ได้รับรางวัลจากการประกวดหรือแข่งขันสิ่งประดิษฐ์ในอัตราร้อยละ 20 ของเงินรางวัลที่ได้รับต่อชิ้นแต่ไม่เกิน 20,000 บาท

การสมัคร

3) ทุนตรวจภาษาอังกฤษเพื่องานวิจัยที่จะตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการนานาชาติ

ทุนตรวจภาษาอังกฤษเพื่องานวิจัยที่จะตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการนานาชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการผลิตผลงานวิชาการของมหาวิทยาลัยในระดับนานาชาติเพิ่มมากขึ้น บุคลากรที่ได้รับอนุมัติทุนสามารถหาผู้เชี่ยวชาญภาษาอังกฤษเอง หรือจะขอให้มหาวิทยาลัยเป็นผู้จัดหาให้ก็ได้ โดยมหาวิทยาลัยจะสนับสนุนตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 5,000 บาทต่อครั้งต่อปีงบประมาณ และสามารถขอได้ 2 ครั้งต่อปีงบประมาณ

การสมัคร

ทุนที่สนับสนุนด้านบุคลากร

1) ทุนนักวิจัยหลังปริญญาเอก (Post-doctoral Fellowship)

2) โครงการทุนอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญพิเศษชาวต่างประเทศ (Distinguished Visiting Professor) และ โครงการทุนอาจารย์พิเศษชาวต่างประเทศ (Visiting Professor)

เพื่อเชิญอาจารย์พิเศษชาวต่างประเทศที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญมาถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในระยะสั้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. พัฒนาด้านการเรียนการสอน และการวิจัยของมหาวิทยาลัยให้มีความหลากหลาย และเป็นสากลมากยิ่งขึ้น
2. สร้างเครือข่ายและพันธมิตรทางวิชาการกับอาจารย์พิเศษชาวต่างประเทศ
3. กระตุ้น/ส่งเสริมการสร้างความรู้ใหม่ในศาสตร์ที่อยู่ระดับแนวหน้า
4. ส่งเสริมให้นักศึกษาทุกระดับได้ศึกษากับอาจารย์ชาวต่างประเทศ
5. ให้คณาจารย์ของมหาวิทยาลัยได้ทำวิจัยและตีพิมพ์ผลงานร่วมกับอาจารย์ชาวต่างประเทศ
6. สร้างความร่วมมือกับเครือข่ายด้านวิจัยและวิชาการทั้งภายในและภายนอกให้เข้มแข็งและต่อเนื่องในรูปแบบของการเพิ่ม Collaborative Research Program

แบบฟอร์มโครงการ

3) โครงการสนับสนุนการพัฒนาทักษะและความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการวิจัยของบุคลากรสายวิชาการ (Skill Development Grant)

การสร้างความเข้มแข็งให้กับบุคลากรสายวิชาการ โดยเฉพาะการพัฒนาความเชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและเครื่องมือและระเบียบวิธีการทางสังคมศาสตร์ที่จำเป็นต่อการวิจัยและพัฒนาใน Strategic Research Themes ดังนั้น อาจารย์ นักวิจัย และผู้ช่วยนักวิจัยจึงต้องมีการแสวงหาและเรียนรู้เทคโนโลยีหรือความเชี่ยวชาญที่จำเป็น ซึ่งยังไม่มีอยู่ในประเทศ เพื่อความเชี่ยวชาญที่ได้กลับมาพัฒนางานวิจัยให้บรรลุเป้าหมายและเป็นเลิศ

แบบฟอร์มโครงการ

ทุนวิจัยภายนอก

1) โครงการวิจัยหมวดเงินอุดหนุน (งบประมาณแผ่นดิน) งบสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund)

ทุนที่สนับสนุนการทำวิจัยโดยจัดสรรให้กับหน่วยงานในระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อสนับสนุนงานวิจัยพื้นฐานที่เป็นการพัฒนานักวิจัย และสร้างความเข้มแข็งของงานวิจัย และการบริหารงานวิจัยของหน่วยงาน ความรู้และสถาบันวิจัยในหน่วยงาน เพื่อตอบโจทย์ประเทศ

ประกาศ/หลักเกณฑ์/คู่มือ

แบบฟอร์มโครงการ

  • ข้อเสนอโครงการ PDF, DOCX

    แบบรายงานความก้าวหน้า PDF, DOC

    แบบรายงานฉบับสมบูรณ์ PDF, DOC

    กิตติกรรมประกาศ PDF, DOC

    บทสรุปผู้บริหาร PDF, DOC

    กรณีการขออนุมัติเปลี่ยนแปลงต่างๆ เช่น หัวหน้าโครงการ, สัดส่วนทีมวิจัย, งบประมาณ, ครุภัณฑ์ เป็นต้น ขอให้ดำเนินการผ่านระบบบริหารงานวิจัยและนวัตกรรม (KIRIM)

2) ทุนสนับสนุนการวิจัยจากหน่วยงานภายในประเทศ

ได้แก่ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สนช.) สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและสร้างนวัตกรรม (บพค.) และ หน่วยบริหารจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) รวมถึง ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ ศลช. (TCELS) และ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ (NVI) เป็นต้น

3) ทุนสนับสนุนการวิจัยจากต่างประเทศ

เช่น ASAHI Glass Foundation, UNESCO, SIDA, Newton Fund เป็นต้น

ทุนการศึกษา

ทุนการศึกษาระดับปริญญาเอก (ทุนเพชรพระจอมเกล้าดุษฎีบัณฑิต) ภายใต้โครงการกระตุ้นงานวิจัย มจธ. ในโอการครอบรอบ 55 ปี แห่งการสถาปนา

ครุภัณฑ์เพื่อการวิจัย

– ครุภัณฑ์กลางเพื่อการวิจัย
– ทุนพัฒนาห้องปฏิบัติการและจัดหาครุภัณฑ์ ภายใต้โครงการกระตุ้นงานวิจัย มจธ. ในโอกาสครอบรอบ 55 ปี แห่งการสถาปนา

ติดต่อสอบถาม

กลุ่มงานส่งเสริมและบริการวิจัย สำนักงานวิจัย นวัตกรรมและพันธมิตร
อาคารสำนักงานอธิการบดี ชั้น 7 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ทุนวิจัยภายใน โทร. 0-2470-9621, 0-2470-9687
ทุนวิจัยภายนอก โทร. 0-2470-9654, 0-2470-9687
อีเมล์: research.followup@kmutt.ac.th

ติดต่อ สำนักงานวิจัย นวัตกรรมและพันธมิตรCresta Social Messenger
X
Copyright Ⓒ 2021 by KMUTT. All rights reserved.