กำแพงต้นไม้บำบัดมลพิษชนิดควบคุมตัวเองอัตโนมัติ

รศ.ดร. ชัยรัตน์ ตรีทรัพย์สุนทร

นักวิจัย

รศ.ดร. ชัยรัตน์ ตรีทรัพย์สุนทร

สังกัดฝ่าย

ห้องปฏิบัติการ Remediation (RMT) สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ

สถานภาพสิทธิบัตร

สิทธิบัตรการประดิษฐ์ เลขที่ 2001001231

ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา

ปัญหาหมอกควัน ฝุ่นละออง และสารอินทรีย์ระเหยง่าย ปนเปื้อนในอากาศ เป็นปัญหามลพิษที่สำคัญ ซึ่งองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมได้ให้ความสำคัญ เนื่องจากมลพิษทางอากาศสามารถแพร่กระจายเป็นวงกว้างได้ง่ายและไม่จำกัดบริเวณ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและเป็นสาเหตุทำให้มีผู้เสียชีวิต โดยสาเหตุการเกิดฝุ่นละอองและมลพิษในประเทศไทยมาจาก ไอเสียของยานพาหนะ การเผาในที่โล่ง และอุตสาหกรรมการผลิต ก่อให้เกิดหมอกควันปกคลุมเมือง โดยแนวทางการแก้ไขปัญหาฝุนละอองของประเทศไทย คือ การทำฝนเทียมหรือการพ่นละอองน้ำเพื่อชะล้างฝุ่นละอองขนาดเล็ก แต่มีประสิทธิภาพที่ต่ำ ซึ่งการแก้ปัญหาอีกทางเลือก คือ การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในบริเวณเมือง ที่ช่วยลดปัญหาฝุ่นละอองได้จากการใช้พืชเพื่อบำบัดมลพิษ โดยมีงานวิจัยรายงานว่า พืชหลายชนิดสามารถดูดซับมลพิษทางอากาศและฝุ่นละอองได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีการนำพืชเหล่านี้มาสร้างระบบบำบัดมลพิษอากาศร่วมกับเทคโนโลยีทางวิศวกรรมศาสตร์ ทำให้ระบบบำบัดมีศักยภาพที่ดีและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่ระบบส่วนใหญ่จะสร้างขึ้นในแนวราบทำให้มีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่การใช้งาน

กำแพงต้นไม้บำบัดมลพิษชนิดควบคุมตัวเองอัตโนมัติ

สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี

กำแพงต้นไม้บำบัดมลพิษในแนวตั้งชนิดควบคุมตัวเองอัตโนมัติ เป็นเทคนิคโนโลยีที่ผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีการใช้พืชบำบัดมลพิษกับเทคโนโลยีด้านวิศวกรรมศาสตร์ ในการดึงดูดอากาศที่ปนเปื้อนมลพิษเข้ามาปะทะกับพื้นที่ปลูกพืชด้วยอัตราการไหลที่เหมาะสม ช่วยสร้างพื้นที่สะอาดในชุมชนเมือง อีกทั้งยังมีการใส่ระบบการควบคุม ทั้งการรดน้ำ ล้างใบ และการตรวจวัดคุณภาพอากาศ ที่รองรับการควบคุมโดยมนุษย์ ควบคุมตัวเองแบบอัตโนมัติและการควบคุมผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งระบบดังกล่าวสามารถปรับความเร็วในการดูดอากาศได้เองอย่างมีประสิทธิภาพ มีหน้าจอแสดงคุณภาพอากาศและไฟแอลอีดีแสดงคุณภาพอากาศ ตามคุณภาพอากาศในสิ่งแวดล้อมนั้น ๆ

กำแพงต้นไม้บำบัดมลพิษชนิดควบคุมตัวเองอัตโนมัติ

ความร่วมมือที่เสาะหา

เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ

ข้อมูลติดต่อสอบถาม

งานถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

โทรศัพท์ 02-470-9626 e-mail: tto@kmutt.ac.th

ติดต่อ สำนักงานวิจัย นวัตกรรมและพันธมิตรCresta Social Messenger
X
Copyright Ⓒ 2021 by KMUTT. All rights reserved.