Germany-Thailand Bioeconomy Call Announcement 2025 [Deadline: 25 November 2025]

Germany-Thailand Bioeconomy Call Announcement 2025 [Deadline: 25 November 2025]

Germany-Thailand Bioeconomy Call Announcement 2025

Funding Organization: Program Management Unit for Human Resources & Institutional Development, Research and Innovation (PMU-B) as a co-funder for Thailand.

Priority Areas:

  • Synthetic biology for the design and construction of new biological parts, devices, and systems, or re-design of existing, natural biological systems for useful purposes (e.g., orthogonal bio-systems, regulatory circuits, minimal genome approaches, and protocells).
  • Systems biology to expand the knowledge of biological processes and regulatory mechanisms in intra- and intercellular processes. This includes the use of bioinformatics tools (e.g., data standardization, modeling, open repositories) and the development of new computational methods.
  • Metabolic engineering for targeted optimization of microbial production strains and biological processes, including the optimization of metabolic pathways and their regulation.
  • Development or advancement of technologies for production of value-added products from sustainably sourced biomass.
  • Biotechnological approaches (possibly in combination with chemical ones) to transform bio-based building blocks into high-value products in a sustainable way.
  • Innovations to support sustainable and resilient food systems focused on reducing or reusing wastes, enhancing efficiency, and improving circularity.
  • Use of bioinformatics tools (e.g., data standardization, modeling, open repositories) for the identification and utilization of metabolic pathways, such as those useful for bio-production and strain/variety improvement.

Eligibility: Proposals must fulfil the following criteria to be eligible for funding under this Programme:

  1. The proposal must have the researchers from Thailand at least 2 institutes/universities to cooperate with.
  2. Lead applicants in Thailand must be;
    • Researchers and/or university professors/instructors who work in public/non-profit organization research institute or university in Thailand and are competent in conducting research with international partners.
    • The project leader must hold a doctoral degree or equivalent, possess a record of high-quality research, and be employed at a higher education institution or government agency in Thailand. Additionally, neither the project leader nor any of the research team members may have been involved in any violation of research ethics.
    • A project leader is an individual with expertise who is affiliated with a government research unit or a higher education institution nationwide and has a research track record that demonstrates their practical knowledge and abilities.
    • The project leader should have publications in international academic journals as a Corresponding or First Author, with at least 5 publications in the past 5 years or as specified by PMU-B.
    • If the project leader is a researcher in science and technology, their publications must be in journals indexed in Scopus or ISI and have an Impact Factor.
  3. The proposal topic must directly address the topic outlined in the call for proposals (PMU-B).

Maximum Award: The total budget for a Thai researcher’s project can be up 5,000,000 Thai Baht over three years.

Application Process:

Application Deadline: 25 November 2025.

Further information: https://www.pmu-hr.or.th/portfolio/germany-thailand-bioeconomy-2569/ and https://www.bioeconomy-international.de/bi2025

For more information, please contact
Ms.Panida Suwannatheerak
Ms.Mananchaya Pissaparn
Tel : 0 2470 9654
Email: panida.suw@kmutt.ac.th
researchfollowup@kmutt.ac.th
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) ประกาศเปิดรับข้อเสนอโครงการวิจัย (Full Proposals) Germany – Thailand ในประเด็น Bioeconomy ประจำปีงบประมาณ 2569 โดยมีลำดับความสำคัญของหัวข้อโครงการวิจัย ดังนี้

  1. ชีววิทยาสังเคราะห์สำหรับการออกแบบและสร้างชิ้นส่วนชีวภาพ อุปกรณ์ หรือการออกแบบระบบชีวภาพ
    ทางธรรมชาติ เช่น orthogonal bio-systems, regulatory circuits, minimal genome approaches และ  protocells เป็นต้น
  2. ชีววิทยาระบบเพื่อขยายความรู้เกี่ยวกับกระบวนการทางชีววิทยาและกลไกการควบคุมกระบวนการภายในและระหว่างเซลล์ รวมถึงการใช้เครื่องมือชีวสารสนเทศ
  3. วิศวกรรมเมแทบอลิซึมเพื่อการปรับแต่งสายพันธุ์จุลินทรีย์ที่ใช้ในการผลิตและกระบวนการทางชีวภาพ
    ให้มีประสิทธิภาพ
  4. การพัฒนาเทคโนโลยีหรือการปรับปรุงเทคโนโลยีเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มจากชีวมวลที่ได้มาอย่างยั่งยืน
  5. วิธีการทางเทคโนโลยีชีวภาพ (ร่วมกับเคมี) ในการเปลี่ยนโครงสร้างทางชีวภาพให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงในวิธีที่ยั่งยืน
  6. นวัตกรรมเพื่อสนับสนุนระบบอาหารที่ยั่งยืนและมีความยืดหยุ่น เน้นการลดหรือใช้ของเสียซ้ำ การเพิ่มประสิทธิภาพ และการปรับปรุงวงจรการผลิตที่สมบูรณ์
  7. การใช้เครื่องมือชีวสารสนเทศ สำหรับการระบุและการใช้วิถีเมแทบอลิซึม เช่น เส้นทางที่มีประโยชน์ต่อการผลิตทางชีวภาพและการปรับปรุงสายพันธุ์

อาจารย์และนักวิจัยที่ประสงค์นำส่งข้อเสนอโครงการ โปรดดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้

  1. โครงการวิจัยต้องเป็นความร่วมมือที่ประกอบด้วยนักวิจัยจากอย่างน้อย 2 สถาบัน โดยเป็นสถาบันที่สังกัด อยู่ในหน่วยงานวิจัยภาครัฐ สถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ หรือหน่วยงานวิจัยในภาคเอกชน และสถาบันแรกจะเป็นต้นสังกัดของหัวหน้าโครงการ
  2. ผู้สมัครจากประเทศไทย มีคุณสมบัติ ดังนี้

2.1 หัวหน้าโครงการต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า มีผลงานวิจัยคุณภาพสูง และทำงานในสถาบันอุดมศึกษาหรือหน่วยงานภาครัฐในประเทศไทย นอกจากนี้ หัวหน้าโครงการและสมาชิกในทีมวิจัยทุกคนต้องไม่เคยมีประวัติการละเมิดจริยธรรมวิจัยใด ๆ

2.2 หัวหน้าโครงการต้องเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญ ซึ่งมีตำแหน่งในหน่วยงานวิจัยภาครัฐหรือสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ และมีประวัติผลงานวิจัยที่แสดงถึงความรู้และความสามารถที่ใช้ได้จริง

2.3 หัวหน้าโครงการ เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญที่สังกัดอยู่ในหน่วยงานวิจัยของภาครัฐ หรือสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ และมีประวัติผลงานวิจัย (Track Record) ที่แสดงความรู้ความสามารถเชิงประจักษ์ โดยหัวหน้าโครงการควรจะเป็นผู้ที่มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ในฐานะ Corresponding หรือ First Author และมีผลงานตีพิมพ์ไม่น้อยกว่า 5 เรื่อง
ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา หรือตามระยะเวลาที่ บพค. กำหนด

2.4 หากหัวหน้าโครงการเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต้องมีผลงานในวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูล Scopus หรือ ISI และมีค่า Impact Factor สำหรับสาขามนุษยศาสตร์
และสังคมศาสตร์จะต้องมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่มีการตรวจสอบต้นฉบับ (Peer Review) อย่างเข้มแข็ง

  1. จัดทำข้อเสนอโครงการตามแบบฟอร์มของ บพค. และหนังสือรับรอง (Letter of Support – LOS)
    จากมหาวิทยาลัยที่ลงนามโดยผู้มีอำนาจลงนามของสถาบัน
  2. ส่งข้อเสนอโครงการผ่านระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (NRIIS) และระบบบริหารงานวิจัยและนวัตกรรม (KIRIM) โดยมีเอกสารรูปแบบ PDF ที่ต้องแนบเข้าระบบ ประกอบด้วย แบบฟอร์มข้อเสนอโครงการตามรูปแบบ บพค.

ขอให้ดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าวให้แล้วเสร็จ ภายในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 เวลา 16:30 น. เพื่อ สวนพ. ดำเนินการตรวจสอบและรวบรวมเสนอผู้บริหารมหาวิทยาลัยรับรองการส่งข้อเสนอโครงการผ่านระบบ NRIIS ต่อไป และเนื่องจากมหาวิทยาลัยมีการประกาศ เรื่อง นโยบายจริยธรรมการวิจัย (Research Integrity) (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2567 ซึ่งมีผลบังคับใช้ วันที่ 8 สิงหาคม 2567 มหาวิทยาลัยจึงขอสงวนสิทธิ์รับรองการส่งข้อเสนอโครงการสำหรับหัวหน้าโครงการที่ผ่านการอบรมด้านจริยธรรมการวิจัยเชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดและมีใบรับรองการผ่านการฝึกอบรมแล้วเท่านั้น

ไฟล์เอกสารที่เกี่ยวข้อง: https://kmutt.me/2025PMUBGermany-Thailand

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
คุณพนิดา สุวรรณนทีรักษ์
คุณมนัญชยา พิศพาร
อีเมล: researchfollowup@kmutt.ac.th
Line Official : https://lin.ee/HBsPEqH
ID:@researchkmutt
โทร. 02-470-9654

ติดต่อ สำนักงานวิจัย นวัตกรรมและพันธมิตรCresta Social Messenger
X
Copyright Ⓒ 2021 by KMUTT. All rights reserved.