วันที่ 30 เมษายน – 2 พฤษภาคม 2567 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) ได้จัดกิจกรรม PSUxKMUTT Bootcamp ภายใต้โครงการงานร่วมศาสตร์ สร้างวิจัย นวัตกรรม ปีที่ 4 ระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (PSU x KMUTT: Multidisciplinary Research & Innovation Project) โดย ดร.กัญญวิมว์ กีรติกร รองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มจธ. ได้ให้การตอนรับคณะเดินทางจาก ม.อ.
ทั้งนี้ คณะเดินทางจาก ม.อ. และนักวิจัย มจธ. ได้เข้าเยี่ยมชมหน่วยวิจัยต่าง ๆ ของ มจธ. บางมด ได้แก่ 1) ห้องปฏิบัติการ Additive Manufacturing Lab โดย รศ. ดร.พชรพิชญ์ พรหมอุปถัมภ์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้ให้การต้อนรับและแนะนำผลงานวิจัยที่พัฒนาจนสามารถต่อยอดเป็นบริษัท Spin-off ได้ 2) กลุ่มวิจัยและพัฒนาวัสดุพอลิเมอร์เพื่อการประยุกต์ด้านพลังงานสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี (PENTEC) โดย รศ. ดร.จตุพร วุฒิกนกกาญจน์ คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ พาคณะเดินทางเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการและเครื่องมือ พร้อมทั้งผลงานของกลุ่มวิจัยฯ และ 3) บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) โดย ศ. ดร.นวดล เหล่าศิริพจน์ ผู้อำนวยการบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ได้นำเสนอภาพรวมผลงานวิจัยและความร่วมมือของหน่วยงานซึ่งเป็นความร่วมมือแบบ consortium
นอกจากนี้นักวิจัย ม.อ. และ มจธ. ยังได้รับการแลกเปลี่ยนประสบกาณ์จากการถ่ายทอดประสบการณ์จากนักวิจัยรุ่นพี่ที่เคยเข้าร่วมกิจกรรม PSUxKMUTT Bootcamp ไปก่อนหน้านี้จาก ผศ. ดร.เยี่ยมพล นัครามนตรี ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มจธ. และ ผศ. ดร.อิทธิพล จีระพันธ์ สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. ซึ่งเป็นนักวิจัยที่เกิดความร่วมมือและมีผลงานเกิดขึ้นภายหลังจากการเข้าร่วมกิจกรรม
ผู้ร่วมกิจกรรมยังได้รับเกียรติจาก ศ. ดร.พีระพงศ์ ทีฆสกุล ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.อ. บรรยายพิเศษ หัวข้อ “การประสานความร่วมมือเพื่อสร้างงานวิจัยที่มีผลกระทบ” และให้คำแนะนำในการพัฒนา Concept Idea ตลอดจนการคำแนะนำในการต่อยอดพัฒนาโครงการให้มี TRL ที่สูงขึ้นหรือมีโอกาสนำไปสู่การใช้ประโยชน์ได้ได้อนาคตแก่นักวิจัยทั้งสองมหาวิทยาลัย
จากการสร้างเครือข่ายภายใต้กิจกรรม PSUxKMUTT Bootcamp และการระดมสมองเพื่อพัฒนา Concept Idea นี้ จะเป็นย่างก้าวที่สำคัญต่อการสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยและนวัตกรรมต่อไปในอนาคต เพื่อนำไปสู่การสร้างผลงานที่มีคุณภาพ สร้างผลกระทบสูง และมีเครือข่ายที่ยั่งยืนต่อไป