ยุทธศาสตร์วิจัย

มจธ. มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างผลงานการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรมที่มีคุณภาพ
และมีผลกระทบสูงต่อทั้งเศรษฐกิจและสังคม โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของงานวิจัยที่มีคุณภาพเป็นเลิศ
หนึ่งในกลยุทธ์ภายใต้แผนยุทธศาสตร์วิจัย มจธ. คือ เน้นการวิจัยแบบรวมตัวกัน และใช้ความสามารถแบบสหสาขา
เพื่อแก้ปัญหาและโจทย์วิจัยที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยมหาวิทยาลัยได้แบ่งยุทธศาสตร์วิจัยออกเป็น 7 ประเด็นหลัก

Strategic Research Themes

Innovation Materials, Manufacturing and Construction
Digital Transformation
Sustainable Energy and Environment
Sustainable Bioeconomy
Sustainable Mobility
Smart Healthcare
Creative and Learning Society
Inclusive and Sustainability Research
Innovation Materials, Manufacturing and Construction

“การผลิตและการก่อสร้างที่ชาญฉลาด”
เน้นการวิจัยและพัฒนาวัสดุ การประยุกต์ใช้วัสดุ และการขึ้นรูปวัสดุ (ทั้งโลหะ อโลหะ โพลิเมอร์ และคอมโพสิท) เพื่ออุตสาหกรรมการผลิต (เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์) และการก่อสร้าง และในส่วนอื่นๆ (เช่น พลังงานและสิ่งแวดล้อม) การใช้ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ในการผลิตและการก่อสร้างตลอดจนการบริหารจัดการระบบและคุณภาพการผลิตและการก่อสร้าง

Digital Transformation

“การเปลี่ยนแปลงด้วยเทคโนโลยีดิจิตอล”
เน้นการวิจัยพัฒนาและประยุกต์เทคโนโลยีและอุปกรณ์ดิจิตอลเพื่อรองรับต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชนและคุณภาพชีวิต ครอบคลุมทั้งคณิตศาสตร์ประยุกต์และการคำนวณเชิงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม (Computational science and engineering) เทคโนโลยีสารสนเทศ Internet of Things (IOT), Big data analytics รวมทั้งบริการผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ (Smart services and products)

Sustainable Energy and Environment

“พลังงานและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน”

เน้นการวิจัยและพัฒนาใน 4 ด้านหลัก ได้แก่

(1) พลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะการใช้ชีวมวลเพื่อผลิตความร้อนและไฟฟ้า ก๊าซชีวภาพ พลังงานจากแสงอาทิตย์ และระบบอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง (เช่น ระบบโครงข่ายไฟฟ้าขนาดจิ๋ว (Micro grid) และโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart grid) ตลอดจนระบบอุปกรณ์กักเก็บพลังงาน (Energy storage))

(2) เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน โดยเฉพาะในภาคอาคาร ภาคอุตสาหกรรม และภาคขนส่ง

(3) เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ทั้งด้านคุณภาพน้ำ คุณภาพอากาศและการกำจัดขยะชุมชน

(4) เทคโนโลยีเพื่อเตรียมรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change) โดยเฉพาะด้านการจำลองภูมิอากาศ การจัดการน้ำ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งจากภาคเกษตรและป่าไม้ เป็นต้น รวมทั้งการวิจัยเชิงนโยบายด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม

Sustainable Bioeconomy

“เศรษฐกิจฐานชีวภาพ”
เน้นการวิจัยและพัฒนาด้านการเกษตรแบบยั่งยืน การเกษตรแม่นยำ (Precision farming) เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว และการแปรรูปอาหาร อาหารสัตว์และ วัคซีนสัตว์อาหารเพื่อ อนาคต (เช่น อาหารสำหรับผู้สูงวัย) เชื้อเพลิง วัสดุและเคมีชีวภาพเทคโนโลยีสำหรับการ จัดการ และการใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน (เช่น การจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ และการอนุรักษ์ระบบนิเวศน์) รวมทั้งการวิจัยและผลิตยาชีววัตถุ (biopharmaceuticals)

Sustainable Mobility

“การเดินทางและขนส่งที่ยั่งยืน”
เน้นการวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีและการวิจัยนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางที่มีประสิทธิภาพ โดยมีเป้าหมายให้ใช้พลังงานน้อยและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ครอบคลุมเทคโนโลยียานยนต์คาร์บอนต่ำ โดยเฉพาะยานยนต์ไฟฟ้าเทคโนโลยีระบบรางระบบการขนส่งอัจฉริยะ (Intelligent transport system) การจัดการห่วงโซ่อุปทาน และโลจิสติกส์และความปลอดภัยด้านการขนส่ง รวมทั้งนโยบายและแผนที่เกี่ยวข้อง

Smart Healthcare

“บริการสุขภาพแบบชาญฉลาด”
เน้นการวิจัยและพัฒนาที่บูรณาการเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าหลากหลายสาขา เพื่อการวินิจฉัย บำบัด ฟื้นฟูและป้องกันโรค และบริการทางการแพทย์ (เช่น การผลิต ยาชีววัตถุโดยโรงงานต้นแบบที่ได้มาตรฐานสากลการผลิตเซลล์ เพื่อเวชศาสตร์ ฟื้นฟู) รวมทั้งเทคโนโลยีการวินิจฉัยโรคประเภท Non-invasive (เช่น bio- imaging, biosensors และ molecular diagnostics เป็นต้น) รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อช่วยเหลือผู้พิการผู้สูงวัย และการพัฒนาทางสมองของเด็ก

Creative and Learning Society

“สังคมแห่งการเรียนรู้และสร้างสรรค์”
เน้นการวิจัยและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ (Learning process) ใหม่ๆ ด้านศิลปะและนวัตกรรมการออกแบบ เพื่อมุ่งสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ และการสร้างสรรค์เพื่อกระบวนการเรียนรู้สำหรับอนาคต (Future learning) และวิถีชีวิตและสังคมแห่งอนาคต (Future society) รวมทั้งการพัฒนาและการจัดการชุมชน และการสร้างสรรค์มูลค่าเพิ่มบนฐานของวัฒนธรรม และการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีกับศิลปะและการออกแบบ

Inclusive and Sustainability Research

การวิจัยเพื่อการพัฒนาที่ทั่วถึงและยั่งยืน : บนฐานการพัฒนาเชิงพื้นที่และสร้างผลกระทบต่อชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม

Sub Themes:
• Area-based and Fundamental Research
• Capacity building and adaptation
• Inclusive research and innovation
• Sustainability and well-being community

มุ่งเน้นการสร้างงานวิจัยที่เป็นเลิศและสัมพันธ์กับโจทย์ที่แท้จริงของสังคม (Relevance Excellences) และพัฒนาเทคโนโลยี-นวัตกรรมที่สร้างผลกระทบต่อสังคม ลดความเหลื่อมล้ำ และยั่งยืน ครอบคลุมทั้งงานวิจัยพื้นฐานที่จะสนับสนุนในการแก้โจทย์ปัญหาในแต่ละพื้นที่ (Area-based and Fundamental Research) งานวิจัยที่มีความพร้อมในการนำไปใช้แก้โจทย์ปัญหาในแต่ละพื้นที่ (Capacity building and adaptation) งานวิจัยที่สร้างเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ (Inclusive research and innovation) และงานวิจัยที่ใช้ความรู้เพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย หรือการสร้างต้นแบบเพื่อแก้ปัญหาในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้ชุมชนเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากความรู้ และนวัตกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตได้จริง (Sustainability and well-being community) สนับสนุนงานด้านพลังงาน วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาระบบเกษตร (3E4A – Energy, Engineering and Environment for Agriculture) การบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหารและการฟื้นฟูระบบนิเวศ การส่งเสริมและพัฒนาอาชีพของเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร การสร้างพื้นที่และเมืองสร้างสรรค์ และการพัฒนาสมรรถนะของคนในพื้นที่เพื่อการมีส่วนร่วมและพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นต้น จากการดำเนินการวิจัยดังกล่าว ทำให้ มจธ. เข้าใจโจทย์และความต้องการพัฒนาของชุมชนและพื้นที่ทำงานเป็นอย่างดี เข้าใจบริบทและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนการพัฒนาจากฐานสู่ยอด ลดความเหลื่อมลํ้า และสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้งสามารถพัฒนาเป็นโจทย์วิจัยคุณภาพสูงแต่สัมพันธ์เชื่อมโยงและมีความโดดเด่นได้ (Relevance Excellences) และมีความเป็นจริงได้ ที่จะพัฒนาสู่การสร้างนวัตกรรมที่ครอบคลุมทั่วถึง (Inclusive Innovation)

ที่ปรึกษา: นายสุเมธ ท่านเจริญ
Champion: นายศุเรนทร์ ฐปนางกูร คุณบวรศักดิ์ เพชรานนท์ และ ดร.เอกณัฏฐ์ กระจ่างธิมาพร

ภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์วิจัยทั้ง 8 นี้ ยังมีการแบ่งออกเป็นประเด็นยุทธศาสตร์วิจัยย่อย (sub-theme) อีกจำนวนหนึ่ง
เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรมไปในทิศทางที่จะสร้างความเข้มแข็งร่วมกันได้อย่างสูงสูด

ติดต่อสอบถาม

งานยุทธศาสตร์วิจัย สำนักงานวิจัย นวัตกรรมและพันธมิตร

อาคารการเรียนรู้พหุวิทยาการ (LX) ชั้น 6 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
126 ถนนประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร 10140
โทร. 0-2470-9651
โทรสาร. 0-2872-9083
อีเมล์ : research@kmutt.ac.th

ติดต่อ สำนักงานวิจัย นวัตกรรมและพันธมิตรCresta Social Messenger
X
Copyright Ⓒ 2021 by KMUTT. All rights reserved.