ผลงานวิจัยเด่น
Digital transformation
Big Data Analytics
IDEA LAB
มาตรฐานอาชีพสื่อสารโทรคมนาคม
Mobile Application – กดดูรู้ทันที
Website e-learning : มิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้
โครงการ Stroke FAST Track ระบบบันทึกเวลาการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง
การกู้คืนรูปภาพด้วยโมเดลคณิตศาสตร์
การแก้ปัญหารถติดด้วยรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ
A Quantum key distribution เทคนิคการเข้ารหัสลับเชิงควอนตัมแบบใหม่เพื่อความปลอดภัยสูงสุด
พัฒนาระบบตรวจจับรถหายในบริเวณเมืองทองธานี
Smart Classroom Using Long Range Wide Area Network (LoRaWAN)
A Fall and Activity Recognition System Using Smart Devices
D’ Guardian: A smart monitoring system for elderly and disabilities
IVF Robot Arm
การพัฒนาระบบแพทย์ทางไกลเพื่อดูแลสุขภาพเพื่อสูงวัย
Never Ever Falls ระบบป้องกันการตกเตียง
TreatLap: ระบบตรวจจับพฤติกรรมและวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการใช้คอมพิวเตอร์ในสำนักงาน
WELSE IoT Platform for Health Care Monitoring
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี VR เพื่อบำบัดโรคกลัวความสูง
การพัฒนาโปรแกรมสำหรับกิจกรรมบำบัดแบบกระจกเงาสะท้อนสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยใช้เทคโนโลยี VR
การออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์เกมสำหรับการกายภาพบำบัดส่วนปลายแขนของผู้ป่วยโรดหลอดเลือดสมอง
โปรแกรมการฝึกกิจกรรมบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
หุ่นยนต์ BLISS ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้เด็กออทิสติก
โปรแกรมการวินัฉัยโรคเบาหวานโดยเทคนิค Machine learning
Application for Smart Hub
e-Voting System for Thailand Election using Blockchain Technology
Smart Speaker ลำโพงสั่งการทำงานด้วยการเคลื่อนไหว
Temp Table โต๊ะเปลี่ยนสีตามอุณหภูมิของเครื่องดื่ม
THE RESILIENT NEST : a smarter nest for the future living
MODBiome แพลตฟอร์มประเมินประชาคมจุลินทรีย์โดยไม่ต้องเพาะเลี้ยง
การออกแบบโครงสร้างน้ำหนักเบาสำหรับรถโดยสารไมโครบัสไฟฟ้าในประเทศไทยด้วยวัสดุคอมโพสิท
ระบบจ่ายค่าปรับใบสั่งผ่าน Blockchain
โปรแกรมเซ็นเซอร์ใบหน้าสำหรับเนื้อหาความรุนแรงภาพไม่เหมาะสม
โปรแกรมประยุกต์การตรวจจับสีในภาพสำหรับผู้มีความบกพร่องทางการมองเห็น
Lean52 อุปกรณ์บันทึกพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์
Tallstation อุปกรณ์วัดการกระโดดแทรมโพลีน
การพัฒนาวิธีการตรวจวัดสภาพต้านทานไฟฟ้าสำหรับการทำเหมืองฝังกลบขยะมูลฝอย
Ganges: The IoT-based Water Quality Evaluation Unit for Smart City
Cellular crop modeling
วอเตอร์ฟุตพรินต์และการประเมินความตึงเครียดด้านความต้องการใช้น้ำ เพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
IoT: Sensor Web Enablement Air Quality Quantification System
Crop health monitoring system
Knowledge management for developing urban innovation District:mobile tools for collect data in the field
สถานีตรวจวัดฝุ่น PM10/2.5
LEB2: An all-in-one Outcome-based Education Tool
Quantum Technology Endeavor (QuTE)
โปรแกรมจำลองสิ่งมหัศจรรย์ของโลกผ่านเทคโนโลยี VR
การพัฒนาเทคโนโลยี VR เพื่อการผ่อนคลายความเครียด
สื่อการเรียนรู้กายวิภาคศาสตร์ระบบกระดูกโดยใช้เทคโนโลยี Mixed Reality
แอปพลิเคชันคู่มือการถ่ายภาพเอกซเรย์สำหรับนักรังสีเทคนิค
MakerPlayground ไอโอทีสร้างได้ใน 5 นาที
เว็บแอปพลิเคชันสำหรับพัฒนาทักษะด้านการเขียนโปรแกรม
CESi smart home
End-use Metering of Power Consumption of Household Appliances
Home Energy Management System With Vehicle-To-Grid Technology
ระบบจำลองการพัฒนาวัสดุสำหรับเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดเพอรอฟสไกต์
Big data analysis of manufacturing processes
Development of Embedded Systems and IoT Frameworks for Modern Automation Systems
Plant Information Management System
Smart Meter by LoRaWAN
Building Simulation for Energy Saving
Energy Management for Sustainable Energy
ผิวเคลือบสีมีสมบัติเลือกการส่องผ่านสเปคตรัมรังสีอาทิตย์จากอนุภาคนาโนแอนทิโมนีทินออกไซด์ผสมพอลิเมอร์
สารเคลือบเพื่อบำบัดอากาศ (Smart coating for air cleaning)
Energy Saving and Eco-friendly Log-House from Wood Polymer Composites
ชุดวัสดุเคลือบผิวกระจกลดอุณหภูมิจากการแผ่รังสีความร้อน
C4ED: Cluster for Education
ระบบ LE: ระบบสนับสนุนการเรียนการสอนของ มจธ. ที่รองรับการใช้งานตั้งแต่การออกแบบจนถึงดูผลการดำเนินงานหลักสูตร รวมไปถึงการสนับสนุนการเรียนการสอนในห้องเรียน เช่น การออกแบบแผนการสอน การส่งการบ้านออนไลน์ การประเมินผล การปฎิสัมพันธ์กับผู้เรียน การสำรวจความคิดเห็นการจัดการคะแนน เป็นต้น
ETS: ทีมวิจัยเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนของ มจธ. โดยเน้นศึกษา ค้นคว้า เครื่องมือและนวัตกรรม ถ่ายทอดความรู้ ผ่านการจัดอบรม จัดทำสื่อเผยแพร่ข้อมูล รวมถึงคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษาผู้สอน ให้สามารถนำเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้กับการศึกษาและใช้แก้ไขปัญหาการเรียนการสอน
สถานีตรวจวัดฝุ่น PM2.5 / 10
ปัจจุบันกรุงเทพมหานครประสบกับปัญหามลภาวะจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM10 และ PM2.5) ทำให้หลายหน่วยงานเริ่มให้ความสำคัญกับการป้องกันและแก้ไขปัญหามลภาวะของอากาศ ทางห้องปฏิบัติการ iLAB จึงได้มีแนวคิดในการจัดทำสถานีตรวจวัดปริมาณฝุ่นละอองในอากาศขนาดเล็ก โดยใช้แนวคิดของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่ง หรือ Internet of Things (IoT) เพื่อใช้แจ้งข้อมูลปริมาณฝุ่นละอองในอากาศ และใช้ในการเก็บข้อมูลปริมาณฝุ่นละอองในอากาศเพื่อใช้ในงานวิจัยในอนาคต
THE RESILIENT NEST a smarter nest for the future living KMUTT SDE Europe 2019
ออกแบบและดำเนินการก่อสร้างบ้านประหยัดพลังงาน เป็นบ้านที่สามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการของเจ้าของ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้สอยพื้นที่ เพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งพลังงานที่มีอยู่อย่างไร้ขีดจำกัด สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าและพลังงานความร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ สามารถอยู่อาศัยได้อย่างสบายและเป็นปกติโดยไม่จำเป็นต้องนำเข้าไฟฟ้าจากภายนอก เพื่อตอบโจทย์ความต้องการทรัพยากรที่มากขึ้น แต่ทรัพยากรที่มีอยู่มีอย่างจำกัด
Plant Information Management System
แพลตฟอร์มนี้เป็นระบบที่ใช้ในการบริหาร จัดการ และติดตามข้อมูลในกระบวนการผลิตภายในโรงงานอุตสาหกรรมแบบ Real-time ผ่าน Web-Dashboard ได้ทุกที่ โดยอาศัยเทคโนโลยี Cyber-Physical System, OPC-UA ในการจัดรูปแบบโครงสร้างของแพลตฟอร์ม เทคโนโลยี IoT ในการเชื่อมโยงข้อมูลจากเครื่องจักร รวมไปถึงเทคโนโลยี AI ในการวิเคราะห์และทำนายความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นล่วงหน้า
KGEO
ศูนย์วิศวกรรมสารสนเทศภูมิศาสตร์และนวัตกรรม มีความเชี่ยวชาญด้านการนำข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อใช้วิจัยและพัฒนาด้านต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น ระบบ Sensor เพื่อตรวจวัดคุณภาพอากาศ ทั้งอุณหภูมิ ความร้อน ฝุ่นละออง CO2 โดยทำการพัฒนาทั้งตัว sensor และ software ผลงานจึงมีราคาถูกกว่าโปรแกรมสำเร็จรูป จุดประสงค์หลักเพื่อดูว่าสภาพแวดล้อมมีผลต่อการใช้ไฟฟ้าอย่างไร
นอกจากนี้สามารถนำมาพัฒนาระบบแผนที่ติดตามและประเมินสภาพพืชเศรษฐกิจด้วยข้อมูลดาวเทียม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแผนที่และการบริการให้มีความสะดวก รวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ ในการติดตามสถานภาพและ ความสมบูรณ์ของพืช ได้แก่สุขภาพของพืช ความเครียดของพืชในการขาดน้ำ
รวมทั้งสามารถนำมาใช้ศึกษาข้อมูลทางด้านกายภาพของเมือง (คลองสาน) เพื่อนำข้อมูลมาวางผังเมืองให้เหมาะสม ดึงจุดเด่นของชุมชนของเพื่อพัฒนาด้านสังคม ทำงานรวมกับคณะสถาปัตถ์ฯ และ GMI โดยกลุ่มเป้าหมายหรือภาครัฐสามารถรู้ข้อมูลพื้นฐาน นำข้อมูลมาพัฒนาคุณภาพชีวิตคนในชุมชนนั้น
Never Ever Falls ระบบป้องกันการตกเตียงอัจฉริยะ
ผู้ป่วยที่พักรักษาตัวอยู่บนเตียง ไม่มีญาติหรือคนรู้จักมาเฝ้าดูแล จำนวนมากกว่าร้อยละ 60 ล้มในห้องพักรักษาและมากกว่าร้อยละ 80 ล้มอยู่บริเวณรอบๆ เตียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวะที่จะลุกออกจากเตียง นวัตกรรมของ Never Ever Falls เป็นระบบการตรวจสอบแบบเสื่อวัดแรงดัน โดยอาศัยการทำงานของกริดวัดแรงดันทำให้ทราบได้ว่าผู้ป่วยนอนอยู่บนเตียงด้วยท่าและ/หรือสภาวะใด ซึ่งมีข้อดีเหนือวิธีการอื่นๆ เช่น เสื่ออิเล็กโทรดหรือระบบการระบุข้อมูลสิ่งต่างๆ โดยใช้คลื่นความถี่วิทยุ ซึ่งมีราคาแพง และมีประสิทธิภาพการใช้งานขึ้นอยู่กับตำแหน่งและวิธีการติดตั้ง ทำให้ยากต่อการใช้งาน
ModBiome
Service Platform ที่บริการตรวจกลุ่มจุลินทรีย์ (Microbiome) แบบครบวงจร ตั้งแต่ Food Production ไปจนถึงสุขภาพของมนุษย์และการบำบัดของเสีย โดยอาศัยการใช้เทคโนโลยีการอ่านรหัสพันธุกรรมด้วยเทคนิค Next Generation Sequencing และการวิเคราะห์ข้อมูล Big Data ผ่านทางศาสตร์ชีวสารสนเทศ สามารถทราบชนิดและปริมาณของจุลินทรีย์ที่อยู่ใน Microbiome ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและแม่นยำโดยที่ไม่ต้องเลี้ยงเชื้อในห้องปฏิบัติการ
ศูนย์นวัตกรรมซอฟต์แวร์และการประมวลผล
ศูนย์นวัตกรรมซอฟต์แวร์และการประมวลผลหรือ Innosoft มีความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถพัฒนาและบริหารจัดการระบบซอฟต์แวร์ด้านการเรียนการสอนภายในมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งดูแลรักษาและปรับปรุงด้วยเทคโนโลยีใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมถึงการให้บริการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์เชิงวิจัยด้านการประมวลผลประสิทธิภาพสูง นอกจากนี้ยังเป็น “Software house” ให้บริการทางด้านพัฒนาซอฟแวร์ให้กับหน่วยงานภายนอก ทั้งเอกชนและภาครัฐ เช่น การร่วมมือกับสวทน. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลภาครัฐได้อย่างเท่าเทียมกัน ในการพัฒนาแอพลิเคชั่นในการเผยแพร่ข้อมูลของภาครัฐ “กดดูรู้ทันที” รวมถึงการวางแผนแม่บท เป็นต้น
IDEA LAB
การวิจัยและพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์แบบ Deep Learning ที่สามารถใช้จริงได้ในภาคอุตสาหกรรม โดยเน้นใน 2 ด้านคือด้านการแพทย์กับด้านการเงิน มุ่งเน้นแก้โจทย์ที่ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพซึ่งมีความสามารถในการเข้าใจ unstructured data เช่นข้อมูลภาพ ภาษา เสียง เป็นต้น
Home Energy Management System with V2G technology
HEMS หรือ Home Energy Management System เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีต้นแบบผ่านโครงการสาธิตร่วมกับภาคอุตสาหกรรมโดยดำเนินการศึกษาการบูรณาการเทคโนโลยีการเชื่อมต่อยานยนต์ไฟฟ้าเข้าสู่บ้านหรือโครงข่ายไฟฟ้า ทำงานร่วมกับเทคโนโลยีระบบจัดการพลังงานที่บ้าน พร้อมด้วยระบบกักเก็บพลังงานและระบบการอัดประจุ และระบบพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์
เทคโนโลยี AR VR สำหรับผลิตสื่อสำหรับบุคลากรเฉพาะทาง
เทคโนโลยี AR VR สามารถมานำมาประยุกต์ใช้กับการบำบัดทางการแพทย์ให้ผู้ป่วยได้ ตัวอย่างเช่น การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ทำให้มีความเป็นไปได้ที่จะกระตุ้นผู้ป่วยให้อยากทำกิจกรรมบำบัดแบบมิเรอร์เทอราพีมากขึ้น การออกแบบเกมส์สำหรับผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง นอกจากนี้ยังสามารถออกแบบสื่อการเรียนรู้กายวิภาคศาสตร์ระบบกระดูกโดยใช้เทคโนโลยี Mixed Reality เป็นต้น
Big data analysis of manufacturing process
การใช้ประโยชน์ของ data analytic ในอุตสาหกรรมการผลิตที่มีข้อมูลจำนวนมากโดยเน้นด้าน process monitoring, fault detection & diagnostic และ soft sensors
หุ่นยนต์สำหรับบำบัดเด็กออทิสติก
หุ่นยนต์ BLISS เป็นแพลตฟอร์มทำหน้าที่เป็นสื่อกลางสำหรับส่งเสริมพัฒนาการเด็กแบบองค์รวม ระหว่างเด็ก ผู้ปกครอง และผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพัฒนาโดยใช้ AI มาช่วยวิเคราะห์เชิงอารมณ์และพฤติกรรมของเด็กระหว่างการทำกิจกรรม ให้หุ่นยนต์ BLISS เรียนรู้ที่จะปรับเปลี่ยนการกระตุ้นให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละคน และช่วยแนะนำกิจกรรมที่เหมาะกับพัฒนาการ เพื่อให้การส่งเสริมพัฒนาการเหมาะสมกับเด็กแต่ละคน